วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร

การเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร
บทที่ 1การเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กรความหมายการเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กรข้อแตกต่างของคำว่า ประสิทธิผล กับ ประสิทธิภาพประสิทธิผล (Effectiveness) หมายถึง ความสำเร็จในการที่สามารถดำเนินกิจการก้าวหน้าไปและามารถบรรลุเป้าหมายต่าง ๆ ที่องค์กรตั้งไว้ประสิทธิภาพ (Effciency) หมายถึง การเปรียบเทียบทรัพยากรที่ใช้ไปกับผลที่ได้จากการทำงานว่าดีขึ้นอย่าไร แค่ไหน ในขณะที่กำลังทำงานตามเป้าหมายองค์กรวิธีการใช้ตัวเกณฑ์วัดประสิทธิภาพขององค์กร 1. เกณฑ์วัดผลตามเป้าหมาย2. เกณฑ์การบริหารประสิทธิภาพเชิงระบบ3. เกณฑ์การบริหารประสิทธิภาพโดยอาศัยกลยุทธ์ตามสภาพแวดล้อมเฉพาะส่วน4. การใช้วิธีการแข่งขันคุณค่าการสร้างองค์กรแห่งคุณภาพ การที่องค์กรจะไปสู่คุณภาพนั้น จำเป็นต้องปรับองค์กร โดยทั่วไปนิยมใช้ 3 วิธีคือ1. การลดต้นทุน2. การเพิ่มผลผลิตอย่างต่อเนื่อง3. การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องนิสัยแห่งคุณภาพมี 7 ประการ ดังนี้ 1. ความเป็นระเบียบเรียบร้อย2. การทำงานเป็นทีม3. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง4. การมุ่งที่กระบวนการ5. การศึกษาและฝึกอบรม6. ประกันคุณภาพ7. การส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมกลยุทธ์การบริหารเชิงคุณภาพ เป็นเพียงกานำเสนอดังนี้ 1. วงจร PDCA หรือ PDCA2. ระบบ 5 ส หรือ 5 S3. กลุ่มระบบ QQC (Quality Contrl Circle:QCC)4. ระบบการปรับรื้อ(Re-engineering)5. ระบบ TQM (Total Quality Management)บทที่ 2องค์กรและการจัดการองค์กรความหมายขององค์กร ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตตยสถาน ได้นิยามความหมายของ "องค์กร" ไว้ว่าองค์กรเป็นศูนย์รวมกิจกรรมที่ประกอบกันขึ้นเป็นหน่วย ถ้าเป็นงานสาธารณะ เรียกว่า องค์กรบริหารส่วนราชการ ถ้าเป็นหน่วยงานเอกชน เรียกว่า องค์กรบริหารธุรกิจลักษณะขององค์กร องค์กรโดยทั่วไป แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ1. องค์กรทางสังคม2. องค์กรทางราชการ3. องค์กรเอกชนโครงสร้างขององค์กร โครงสร้างขององค์กร เป็นการมององค์กรในลักษณะที่เต็มที่ ที่เกี่ยวดีบความสัมพันธ์ และบทบาทหน้าที่ที่เป็นระเบียบ เพื่อการจัดการและบริหารให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อความสำเร็จขององค์กร โครงสร้างขององค์กรจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ ดังนี้มีเป้าหมายวัตถุประสงค์มีภารหน้าที่มีการแบ่งงานกันทำมีสายการบังคับบัญชามีช่วงการควบคุมมีความเอกภาพประเภทขององค์กร องค์กรจะมีความแตกต่างกันมากมาย ทั้งในด้านองค์ประกอบและวัตถุประสงค์ ฉะนั้นในการแบ่งประเภทขององค์กร จึงสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ1. องค์กรปฐมและมัธยม2. องค์กรรูปนัยและอรูปนัยเป้าหมายขององค์กรเป้าหมายขององค์กร เป็นการกำหนดทิศทางการดำเนินงานของงอค์กร โดยคอยกำหนดแนวทางการปฏิบัติ เมื่อองค์กรมีเป้าหมายที่ชัดเจน จะทำให้มีความเข้าใจในการทำงาน เป้าหมายหลักขององค์กรโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ใหญ่ ๆ คือเป้าหมายทางเศรฐกิจหรือกำไรเป้าหมายเกี่ยวกับการให้บริการเป้าหมายด้านสังคมการจัดการองค์กร ความสำคัญของการจัดการองค์กร องค์กรเป็นที่รวมของคนและงานต่าง ๆ เพื่อให้พนักงานขององค์กรปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่เต็มความสามารถ จึงจำเป็นต้องแบ่งหน้าที่การทำงาน และมอบหมายให้รับผิดชอบตามความสามารถและความถนัด จึงเห็นว่าการจัดองค์มีความจำเป็น และก่อให้เกิดประโยชน์หลายด้าน ดังนี้ประโยชน์ต่อองค์กรประโยชน์ต่อผู้บริหารประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงานหลักการจัดองค์กร การจัดองค์กร เป็นกระบวนการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่งานของบุคคลากร และปัจจัยทางกายภาพต่าง ๆ ขององคืกร หลักการจัดองค์กรครั้งนี้จะเน้นไปที่ระบบราชการ โดยมีหลักสำคัญดังนี้การกำหนดหน้าที่การงานการแบ่งงานสายการบังคับบัญชาอำนาจกหารบังคับบัญชาช่องการควบคุมแผนภูมิองค์กรสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการขัดองค์กรนักวิชาการได้กล่าวถึงหลักการจัดองค์กรไว้หลายประการ แต่โดยสรุปได้ดังนี้1. องค์กรมีเป้าหมาย นโยบาย และแผนงานในการดำเนินงานอย่างชัดเจน เพื่อห้เพื่อนร่วมงานหรือสมาชิกองค์กรทราบ ซึ่งจะทำให้การบริหารองค์กรดำเนินไปด้วยความราบรื่นและมีประสิทธิภาพ2. องค์กรต้องจัดให้มีศูนย์กลางในการอำนวยการที่มีแระสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบและอำนวยการโดยตรง3. องค์กรจะต้องระบุหน้าที่การงาน ความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละคนให้ชัดเขนมีการแบ่งแยกหน้าที่ตามความเหมาะสม ตรงตามความรู้ความสามารถ4. องค์กรต้องจัดระบบการทำงานอย่างเหมาะสม มีเทคนิคในการควบคุมงาน และการประสานงานในองค์กร5. องค์กรต้องมีระบบการสื่อสารที่ดี มีหลักอำนวยการ การวินิจฉัยสั่งการที่ดีขั้นตอนการจัดองค์กรการจัดองค์กรมีประสิทธิภาพนั้น เออร์เนสต์ เดล ได้เสนอแนะไว้เบื้องต้น 3 ขั้นตอน ดังนี้การกำหนดรายละเอียดของงานการแบ่งงานให้แต่ละคนในองค์กรได้รับปิดชอบตามความเหมาะสมการประสานงานบทที่ 3พฤติกรรมในองค์กรพฤติกรรมในองค์กร องค์กรจะสร้างรูปแบบของการดำเนินงาน ตลอดจนการปฎิบัติงานต่าง ๆ ขึ้น เพื่อสนองตอบการเปลี่ยนของสิ่งแวดล้อม และสภาวะที่เกิดจากการดำเนินงานของบุคคลและของกลุ่ม หรืออาจจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า รูปแบบเฉพาะในการดำเนินงานที่องค์กรสร้างขึ้นนั้น เป็นผลมาจากการปรับองค์ประกอบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกันและกันได้การศึกษาพฤติกรรมต่าง ๆ ในองค์กร 3 ระดับ คือพฤติกรรมบุคคล (Individual Behavior)พฤติกรรมกลุ่ม (Group Behavior)พฤติกรรมองค์กร (Organization Behavior)ความพึงพอใจในการทำงาน ความพึงพอใจในการทำงาน เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจมาก ทั้งจากนักจิตวิทยา นักวิชาการ และนักบริหารงาน ผู้ปฎิบัติที่มีความพึงพอใจในการทำงาน ย่อมปฎิบัติงานได้ประสบผลสำเร็จมากกว่าผู้ที่ไม่พึงพอใจในการปฎิบัติงาน ดังนั้น ในการบริหารงานจำเป็นจะต้องศึกษาให้เข้าใจ เพราะความพึงพอใจในการทำงาน เป็นกระบวนทางจิตวิทยาที่ไม่สามารถมองเห็นและสังเกตได้ เพียงอาศัยการคาดคะเนและสังเกตพฤติกรรมเท่านั้นความหมายของความพึงพอใจในการทำงาน ความพึงพอใจในการทำงาน หมายถึง สภาวะของอารมณ์ ความรู้สึก และเจตคติของบุคคลที่มีต่องานที่เขาปฎิบัติอยู่ โดยแสดงออกมาเป็นความสนใจ กระตือรือร้น เต็มใจและสนุก ร่าเริง เป็นต้น เมื่อผู้ปฎิบัติงานเกิดความพึงพอใจในงานที่ทำ เขาก็จะมีความพยายาม อุตสาหะ มีความสุขในการทำงาน และความมุ่งมั่นจนงานนั้นสำเร็จตามวัตถุประสงค์ความสำคัญของความพึงพอใจในการทำงาน ผู้บริหารงานควรให้ความสนใจต่อผู้ปฎิบัติงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชา โดยให้ผู้ปฎิบัติงานได้ทราบเป้าหมาย นโยบาย มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การวางแผนและพัฒนา ได้รับการยอมรับและมีความเป็นกันเอง สิ่งเหล่านี้เป็นแนวการบริหารที่ให้ความสำคัญต่อผู้ปฎิบัติงาน จึงทำให้ผู้ปฎิบัติงานมีความรู้สึกที่ดีและมีความพึงพอใจในการทำงาน องค์ประกอบที่มีผลต่อความพึงพอใจในการทำงานการทำงานเพื่อให้พนักงานเกิดความพึงพอใจในงานนั้น มีองค์ประกอบมากมายที่ส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดความพึงพอใจ องค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญ ที่มีผลต่อความพึงพอใจ มีดังต่อไปนี้งาน คือ พนักงานมีความชอบ ความถนัด และความสนใจในงานนั้นค่าจ้าง คือ ค่าจ้างแรงงานในอัตราที่เหมาะสมโอกาสที่ได้เลื่อนตำแหน่ง คือ ผู้บริหารจะต้องมีวิธีการที่ดีในการพิจารณาการเลื่อนตำแหน่งของพนักงานเพื่อความยุติธรรมการยอมรับ คือ ทั้งผู้บริหาร และเพื่อนร่วมงาน หากมีการยอมรับในบทบาท ย่อมทำให้บุคคลเกิดความพึงพอใจในการทำงานสภาพการทำงาน คือ สภาพโดยทั่วไปของสถานที่ทำงาน เช่น ความสะอาด ความเป็นระเบียบ กว้างขวางโอ่โถง เป็นต้นผลประโยชน์ และ สวัสดิการ คือ สิ่งที่พนักงานได้รับตอบแทนจากการปฎิบัติงาน นอกเหนือจากค่าจ้าง เช่น บำเหน็จ บำนาญ ค่ารักษาพยาบาล ค่าที่พัก เป็นต้นหัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชา คือ ลักษณะของหัวหน้างานเป็นแบบใด มีทักษะการบริหารงานมากน้อยเพียงใด รุ้จักหลักจิตวิทยา หลักมนุษยสัมพันธ์เพียงไร และเมื่อมีปัญหา หัวหน้าสามารถที่จะแก้ปัญหาหรือให้คำแนะนำแก่ผู้ปฎิบัติงานได้เพียงใด หากหัวหน้าดี ย่อมทำให้ผู้ร่วมงานเกิดความพึงพอใจเพื่อนร่วมงาน คือ หากมีเพื่อนร่วมงานที่ดีในองค์กร การทำงานไปกันได้ ย่อมส่งผลทำให้ผู้ปฎิบัติงานเกิดความพึงพอใจในงานมากขึ้นองค์กรและการจัดการ คือ หากองค์กรมีวิธีการจัดการ จัดระบบการบริหารดี ย่อมสร้างความพึงพอใจในงานได้เช่นกัน ฉะนั้น การสร้างภาพลักษณ์ของหน่วยงานจึงเป็นเรื่องสำคัญวิธีการเพิ่มปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน วิธีการที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของบุคคลมี 3 วิธีการ คือวิธีการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Managerial Approach)วิธีการมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation Approach)วิธีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Managemrnt)การสำรวจเพื่อการวินิจฉัยงาน Hackman และ Oldman ได้เสนอแนะว่า การมีภาวะทางจิตวิทยาที่สำคัญและจำเป็นในการที่ทำให้บุคคคลมีแรงจูงใจจะทำงานอยู่ 2 สภาวะ คือสถานภาพทางจิตวิทยา มีผลทำให้บุคคลมีแรงจูงใจที่จะทำงาน จะประกอบด้วย- ประสบการณ์ด้านการมีความหมายของงาน- ประสบการณ์ด้านความรับผิดชอบของงาน- การรู้ผลการกระทำคุณลักษณะเฉพาะของงาน จะประกอบด้วย- ทักษะของงาน- ลักษณะเฉพาะของงาน- ความสำคัญของงาน- ความเป็นอิสระ- ข้อมูลป้อนกลับงานวินิจเกี่ยวกับความพึงพอใจในการทำงาน มีการศึกษาวินิจเกี่ยวกับความพึงพอใจไว้มากมาย จากการศึกษาผลการวินิจต่าง ๆ ซึ่งสรุปและวิเคราะห์ผลการศึกษาวินิจเกี่ยวกับความพึงพอใจในงานได้เป็นประเด็นต่าง ๆ ดังนี้แรงจูงใจภายในของบุคคล เช่น ความทะเยอทะยาน ความรับผิดชอบ ความมุ่งมั่น เป็นต้นความเป็นอิสระ และการให้การยอมรับในบทบาทหน้าที่การบังคับบัญชา และการบริหารแบบประชาธิปไตยบรรยากาศการทำงานขององค์กร และสภาพแวดล้อมการทำงานบทที่ 4การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์กรการรู้จักตนเองความรู้สึกนึกคิดและภาพการมองที่แตกต่างกัน ระหว่างบุคคล 2 คน หรือมากกว่านั้น เปรียบเหมือนกระจกเงาบานใหญ่ที่ส่องภาพที่เป็นความจริงของตนเอง การยอมรับคำวิจารณ์ความคิดเห็นของบุคคลอื่นอย่างมีเหตุผล ทำให้เราสามารถทำการบ้านให้กับตัวเอง และรู้จักตัวเองได้อย่างถูกต้อง เช่น เรามีจุดอ่อนที่โกรธง่าย อารมณ์ขุ่นมัว พูดจามะนาวไม่มีน้ำ ใบหน้าไม่สร้างความสัมพันธ์ พูดคำด่าคำ การแสดงเหล่านี้เป็นอุปสรรคในการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ จำเป็นอย่างยิ่งต้องปรับปรุงเปลี่ยนบุคลิกภาพใหม่ ดังนั้น หลักการในการรู้จักตนเอง ประกอบด้วยสิ่งสำคัญ 6 ประ การ คือ องค์ประกอบของการเรียนรู้ตนเองการรู้จักตนเอง เป็นการพิจารณาภาพที่เป็นจริงจากกระจกเงา สะท้อนให้ห็นถึงบุคลิกภาพที่แท้จริง กรรู้จักตนเองในทุกสถานการณ์ ทำให้เราสามารถควบคุมอารมณ์ จิตใจ คำพูด การแสดงออก ได้เหมาะสม ในการส้างความสัมพันธ์ถาวร องค์ประกอบการเรียนการปรับบุคลิกภาพเพื่อพัฒนาตนเองมนุษย์ทุกคนจะต้องอยู่ร่วมกันในสังคม จะอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ได้ การอยู่ร่วมกันต้องปรับบุคลิกภาพและการพัฒนาตนเอง เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทุกคนก็จะอยู่อย่างมีความสุข การปรับบุคลิกภาพเพื่อพัฒนาตนเอง ประกอบด้วยลักษณะต่อไปนี้การปรับปรุงเพื่อพัฒนาตนเองมนุษย์เราเกิดมายอมรับว่ามีทั้งส่วนดีและส่วนเสีย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่ามีสถานการณ์ต่าง ๆ มากระทบ จึงทำให้เกิดพฤติกรรมออกมาต่าง ๆ หากพฤติกรรเป็นสิ่งไม่ดี ไม่เหมาะสมเราก็สามารถปรับปรุงพัฒนาตนเองได้ เพื่อให้เกิดความสมดุลทางสังคมในยุคโลกาภิวัฒน์ โดยหลักการแล้ว หากจะปรับปรุงเพื่อระสิทธิภาพของงาน จะต้องมีขั้นตอนสำคัญในการปรับปรุงพัฒนาตนเอง 4 ขั้นตอนดังนี้1. ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องพัฒนาตนเอง2. มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะพัฒนาตนเอง3. วิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียของตนเอง4. เพื่อพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบระเบียบกลยุทธิ์ในการพัฒนาตนเองเพื่อให้การพัฒนาตนเองประสบผลสำเร็จ จึงขอเสนอหลักการเพิ่มเติม เพื่อการพัฒนาตนเองไปถึงจุดที่ควรจะเป็น และพยายามหาวิธีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ โดยบุคคลจะต้องเรียนรู้ตัวเราให้ดีก่อน แล้วจึงนำความเข้าใจกับสิ่งที่เรารู้ จากตัวบุคคลจาสิ่งที่ตัวเราที่แท้จริงก่อน เมื่อเป็นเช่นนี้จะทำให้เราสามารถมองเห็นข้อบกพร่อง แล้วจึงยึดหลักเพื่อปฏิบัติตนเอง เพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพ หรือการดำเนินชีวิตดังนี้การเป็นผู้มีจิตใจสงบการเป็นผู้มีจิตใจเบิกบานความเป็นผู้ไม่หวาดหวั่นต่อความยากลำบากเป็นผู้ตรงต่อเวลา ความเป็นผู้มีความเชื่อมั่นในตนเองความเป็นผู้ละเอียดรอบคอบการเป็นคนขยันขันแข็งความเป็นผู้เชื่อถือของผู้อื่นการสร้างทีมงานความสำเร็จของงานขึ้นอยู่กับปัจจัยการทำงานเป็นทีม ภารกิจสำร็จของนักบริหารจัดการคือ การพยายามทำความเข้าใจกับส่วนประกอบของทีมงาน การกำหนดวัตถุประสงค์ของทีมงานให้ชัดจน และการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายขององค์กรนักบริหารจะต้องไม่ลืมความสัมพันธ์ลักษณะระหว่างคุณลักษณะของการทำงานเป็น กับความสำเร็จงานบนพื้นฐานง่ายๆ ดังนี้การสร้างทีมงาน1. การสร้างทีมงาน (Team-Building) คือ 2. การทำงานป็นทีม(Team- Wok) คือวัตถุประสงค์ในการสร้างทีมงานลักษณะงานที่ต้องการสร้างสรรค์ใหม่ ๆ จะต้องจัดระบบในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ การติดต่อสื่อสารกระบวนการแก้ปัญหา และการทำงานเป็นลักษณะงานประจำ และการบริการที่อยู่ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานี้ เราจะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และสติปัญญา ในอันที่จะเริ่มสร้างสิ่งใหม่ ๆ รวมทั้งเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด และยังต้องอาศัยความสามารถอย่างเต็มที่ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน ดังนั้น การตระหนักถึงความจำเป็นในการทำงานร่วมกัน การสร้างทีมงานจึงมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อสร้างความไว้วางใจในหมู่สมาชิกทีมงานเดียวกัน ด้วยการเห็นคุณค่าของคน และยอมรับในศักยภาพของแต่ละบุคคลการทำงานเป็นทีมมีประสิทธิผลมากขึ้น เมื่อสมาชิกทีมได้เสริมสร้างทักษะความเชี่ยวชาญมากขึ้นประสิทธิภาพการทำงานจะเพิ่มขึ้น เมื่อการแสดงความคิดเห็นในลักษณะข้อมูลป้อนกลับขอทีมงานถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นคนเราจะทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น เมื่อมีการเปิดเผยและจริงใจต่อกัน โดยเฉพาะตอนที่มีปัญหาเพื่อใหก้ารสนับสนุนด้านพัฒนาบุคลิกภาพ รู้จักเปิดหน้าต่างการเรียนรู้ โดยรับฟังความคิดเห็นข่าวสารเพื่อการพัฒนาทักษะในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เป็นการช่วยลดการขัดแย่งระหว่างบุคคลเนื่องจากสมาชิกของทีมงานได้เรียนรู้ถงทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมกขึ้นส่งเสริมความริเริ่มสร้างสรรค์ในหมู่สมาชิกของทีม และเป็นการสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานลักษณะของทีมงานที่ดีทีมงานที่ดี จะมีความสมดุลที่เหมาะสมองทักษะความสามารถ รวมทั้งความพอใจทุกคนสามารถแสดงออกด้วยความซื่อสัตย์และเปิดเผย การสนทนาเกี่ยวกับงานจะเหมือนกันทั้งภายในและภายนอก องค์กรมีการเผชิญหน้าและเปิดเผย และใช้สื่อกลางสำหรับการเรียนรู้ และเมื่อเผชิญกับสถานการที่ยากลำบาก ดังนั้น การสร้างทีมงานที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้ประโยชน์ของการทำงานเป็นทีมงานดีมีคุณภาพเพิ่มผลผลิตของตนลดความขัดแย้งในองค์กรรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองปลูกฝังความรับผิดชอบสร้างมิตรสัมพันธ์พัฒนาความคิดสร้างสรรค์บทที่ 5บุคลิกภาพแนวคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพบุคลิกภาพ มาจากคำบาลี 2 คำ คือ บุคลิก กับ ภาวหรือภาพ เมื่อนำมารวมกันหรือสมาสกันเป็น บุคลิกภาพ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Personality แปลว่า ลักษณะเฉพาะตัวของบุคคลซึ่งแต่ละคนจะมีลักษณะเฉพาะไม่ตรงกันนอกจากนี้ นักจิตวิทยาได้ให้ความหมายบุคลิกภาพไว้หลายทัศนะด้วยกัน เช่นบุคลิกภาพ คือ ผลรวมของพันธุกรรม และประสบการณ์ทั้งหมดของบุคคลบุคลิกภาพ คือ ลักษณะรวมของบุคคล และวิธีการแสดงออกทางพฤติกรรม ซึ่งกำหนดการปรับตัววจามแบบฉบับของแต่ละบุคคลต่องสิ่งแวดล้อมบุคลิกภาพ คือ กระบวนการสร้างหรือการจัดส่วนประกอบของแต่ละคน ทั้งภายในและภายนอก(จิตใจและร่างกาย) ซึ่งบุคลิกภาพนี้จะทำหน้าที่เป็นเครื่องกำหนด ตัดสินพิจารณาลักษณะพฤติกรรม และความนึกคิดของบุคคลนั้นสรุป บุคลิกภาพ คือ ลักษณะพิเศษเฉพาะของบุคคลแต่ละบุคคล อันทำให้บุคคลนั้นแตกต่างจากบุคคลอื่น ๆ บุคลิกภาพประกอบด้วยรูปสมบัติและคุณสมบัติองค์ประกอบของบุคลิกภาพบุคลิกภาพ ประกอบไปด้วยลักษณะต่าง ๆ ดังนี้1. ลักษณะท่าทาง2. ลักษณะทางใจ3. ลักษณะทางสังคม4. ลักษณะทางอารมณ์ลักษณะของผู้มีบุคลิกภาพที่ดีบุคลิกภาพที่ดี มักจะเป็นคนที่มีพื้นฐานด้านสุขภาพจิตดี ทำให้มีการปรับตัวที่ดี และส่งผลถึงการมีบุคลิกภาพที่ดีด้วย ผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ดี จะมี คุณลักษณะและความสามารถทางจิตที่สำคัญ 6 ประการ ดังต่อไปนี้1. ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจสภาพความจริงอย่างถูกต้อง2. การแสดงอารมณ์ในลักษณะและขอบเขตที่เหมาะสม3. ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ทางสัฝคม4. ความสามารถในการทำงานที่อำนวยคุณประโยชน์5. ความรักและการต้องการทางเพศ6. ความสามารถในการพัฒนาตนการพัฒนาบุคลิกภาพ คำว่า บุคลิกภาพ มาจากคำว่า Personality แปลว่า ลักษณะเฉพาะตัวของบุคคล ซึ่งไม่เหมือนกัน ดังนั้น บุคลิกภาเราจึงหมายถึง ลักษณะเฉพาะตังของเราแต่ละคน ซึ่งไม่มีใครเหมือน และไม่เหมือนใคร บุคลิกภาพเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ไม่มีใครสามารถเลียนแบบบุคลิกภาพผู้อื่นได้เหมือนทุกอย่าง ทุกประการ และบุคลิกภาพสามารถปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นได้ประเภทของบุคลิกภาพที่ควรปรับปรุง บุคลิกภาพของบุคคลโดยทั่ว ๆ ไป แบ่งเป็น 2 ประเภท1. บุคลิกภาพภายนอก2. บุคลิกภาพภายในการปรับปรุงบุคลิกภาพภายนอก การปรับปรุงบุคลิกภายนอก หมายถึง สิ่งที่สังเกตเห็นได้ชัด หรือ สัมผัสได้ การปรับปรุงแก้ไขก็ทำได้ง่าย ใช้เวลาน้อย และวัดผลได้ทันที ได้แก่รูปร่างหน้าตาการปรับปรุงการแต่งกายการปรับปรุงในเรื่องการติดต่อสื่อสารการปรับปรุงการพูดการปรับปรุงการฟังการปรับปรุงบุคลิกภาพภายในการปรับปรุงบุคลิกภาพภายใน หมายถึง สิ่งที่มองไม่เห็น และ สัมผัสยาก ต้องมีโอกาสทำงานร่วมกัน หรืออยู่ด้วยกันนานๆ บุคลิกภาพภายในจึงจะแสดงออกมา การแก้ไขเปลี่ยนแปลงค่อนข้างยาก ใช้เวลานาน และวัดผลลำบากบุคลิกภาพภายนอก ได้แก่ความกระตือรือล้นความซื่อสัตย์ความสุภาพความร่าเริงและความร่วมมือความแนบเนียนความยับยั้งชั่งใจความจริงใจจินตนาการ บทที่ 6กลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กรด้วยการสร้างบรรยากาศในการทำงานความหมายของกลยุทธ์ในองค์กร กลยุทธ์ขององค์กร หมายถึง การที่องค์กรได้แสดงความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม โดยใช้วิธีการริหารที่องค์กรไปเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมที่มีกลุ่มต่าง ๆ ตัวบุคคล องค์กรอื่นและสถาบันประเภทอื่นทั้งหลายที่อยู่ภายในองค์กรและนอกองค์กรการบริหารองค์กรให้มีประสิทธิภาพมีเรื่องที่สำคัญที่ต้องพิจารณา 2 ประการคือประการแรก ผู้บริหารต้องเข้าใจถึงลักษณะสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องประการที่สอง ผู้บริหารต้องเข้าใจว่า องค์กรสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมอย่างไร โดยพิจารณาในแง่ของการพิจารณาปัจจัยสำคัญต่าง ๆ ตามความหมายของพฤติกรรมองค์กรการจัดชุดของทรัพยากรที่จะใช้งานในองค์กร ในการจัดชุดทรัพยากรเพื่อใช้ในการบริหาร องค์กรจะมีวิธีการจัดที่แตกต่างกันออกไป โดยทรัพยากรต่าง ๆ สามารถที่จะนำมาพลิกแพลงและจัดทำขึ้นเพื่อสนองต่อแผนงานในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปสุดแต่ความเหมาะสม เช่น อาจจะจัดเพื่อมุ่งให้เกิดการสนใจต่อผลิตภัณฑ์ หรือจัดเพื่อทุ่มเทมุ่งสู่ตลาดใดตลาดหนึ่งที่ตั้งเป้าหมายไว้ หรืออาจจะจัดขึ้นเพื่อทุ่มเทไปกับเทคโนโลยีอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นพิเศษ หรืออาจจะนำมาใช้กระจายไปยังสิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมาให้ครบทุกด้านกลยุทธ์ในฐานะเป็นเครื่องมือสำหรับใช้จัดให้สภาพแวดล้อมสอดคล้องกับทรัพยากร การกำหนดจุดมุ่งหมายและนโยบายที่เกี่ยวกับความต้องการจะของบริษัทและธุรกิจที่บริษัทจะดำเนินนั้นเอง จากที่กล่าวมา ถ้าหากนำมากำหนดเป็นกรอบการคิดเกี่ยวกับกลยุทธ์แล้ว จะปรากฏตามรูปแบบต่างๆ องค์กรจะมีการพิจารณาวิเคราะสภาพแวดล้อม เพื่อที่ดูถึงข้อจำกัดต่างๆ ความต้องการและโอกาสต่างๆ ที่มีอยู่ การตรวจสอบสภาพแวดล้อมนี้ ในบางครั้งอาจจะมีการวิเคราะห์อย่างละเอียดและจัดทำเป็นระบบกลยุทธ์การบริหารที่ทรงประสิทธิภาพ ปัญหาหนักอกของผู้บริหารที่เผชิญอยู่ ก็คือ ปัญหาประสิทธิภาพทางการบริหาร โดยเฉพะในด้านที่เกี่ยวกับ ผลผลิต ที่ตกต่ำกว่าเดิม กลยุทธ์การบริหารที่ทรงคุณภาพนี้ คือ การมีประสิทธิผล ที่สามารถกำหนดเป้าหมายที่ดี และสามารถบรรลุผลสำเร็จในเป้าหมายนั้นๆ ได้ และการมีประสิทธิภาพ ที่สามารถทำสำเร็จในเป้าหมายเหล่านั้น โดยมีต้นทุนค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดด้วย ลักษณะของกลยุทธ์การบริหารที่ทรงประสิทธิภาพที่จะทำให้การบริหารสามารถประสบผลสำเร็จได้อย่างดีในทุกสถานการณ์เงื่อนไขของสภาพแวดล้อม กลยุทธ์การบริหาร การบริหารเชิงรวมที่เป็นภารกิจทางการบริหารของผู้บริหาร บรรรยากาศในองค์กรบรรยากาศในองค์กร จะมีผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารองค์กรให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนี้ความไว้วางใจ ความเชื่อถือ และความมั่นคงของบุคลากรทุกระดับการมีส่วมร่วมในการตัดสินใจการให้การสนับสนุนความเปิดเผยในการสื่อสารจากเบื้องบนสู่เบื้องล่างการรับฟังความคิดเห็นจากเบื้องล่างสู่เบื้องบนนักวิชาการหลายท่านได้เสนอบรรยากาศขององค์กรที่มีผลกระทบต่อการรับรู้ที่นำไปสู่การลงความคิดเห็นเกี่ยวกับบรรยากาศขององค์กรบรรยากาศในองค์กรและความพึงพอใจในการทำงาน บรรยากาศในองค์กร จะนำไปสู่ความพึงพอใจในการทำงาน เมื่อบุคลากรมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน มีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ขององค์กรเป็นอย่างดี มีความไว้เนื้อเชื่อใจกันและกันสูง ย่อมส่งผลถึงการมีบรรยากาศในการทำงาน มีความพึงพอใจในการทำงานมากขึ้น ผลงานดีขึ้น โดยที่บุคลากรไม่เบื่อหน่ายในการทำงาน และปฎิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดีการสร้างบรรยากาศในองค์กรกับความก้าวหน้าของบุคลากร การสร้างบรรยากาศในองค์กรกับความก้าวหน้าของบุคลากร และการพัฒนาองค์กรจำเป็นต้องมีลำดับขั้นตอนในการดำเนินงาน เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร ซึ่งพอสรุปได้ คือองค์กรควรจะกำหนดแผนระยะยาว ซึ่งในแผนนั้นจะต้องมีเป้าหมาย และวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจง องค์กรจะต้องกำหนดความต้องการด้านกำลังคนจากวัตถุประสงค์และเป้าหมาย เพื่อบุคลากรคนปัจจุบันจะได้เตรียมตัว หรืออาจแสวงหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อความก้าวหน้าในการทำงานของเขาองค์กรควรทำการสำรวจบุคลากรที่มีอยู่ เพื่อจะได้รู้ว่าปัจจุบันมีกำลังคนลักษณะและคุณสมบัติอย่างไรองค์กรควรคำนึงถึงกำลังคนที่มีปัจจุบัน กับความต้องการกำลังคนขององค์กรในกิจการงานที่สำคัญต่าง ๆ เพื่อจะได้จัดคนให้เหมาะสมกับงานหรือหน้าที่องค์กรควรจะกำหนดโครงการฝึกอบรมตามความต้องการ เพื่อส่งเสริมบุคลากรให้มีความก้สวหน้าในการทำงาน หรือปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ หรือการสรรหาบุคลากรเพิ่มเติมตามความจำเป็นขององค์กรองค์กรควรจะสื่อสารบอกกล่าวให้บุคลากรรู้ถึงความต้องการกำลังคนประเภทต่าง ๆ เพื่อให้บุคลากรได้มีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเองเสมอองค์กรควรจัดรับสมัคร สัมภาษณ์ คัดเลือก และตระเตรียมบุคลากรให้อยู่ในสภาพพร้อมที่ทำงาน จัดทำคำบรรยายลักษณะงานไว้อย่างชัดเจน วางแผนงานให้เหมาะสมตามสภาพกำลังคนที่มีอยู่ และที่รับเข้ามาใหม่องค์กรควรมีระบบตรวจสอบการสื่อภายใน เพื่อรักษาบรรยากาศขององค์กรบทที่ 7การสื่อสารในองค์กรความหมายของการสื่อสารในองค์กร การสื่อสารในองค์กร หมายถึง กระบวนการในการแลกเปลี่ยนข่าวสารของหน่วยงานกับบุคลากรทุกระดับภายในองค์กร ซึ่งมีความสัมพันธ์กันภายใต้สภาพแวดล้อม บรรยากาศขององค์กร และสังคม ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามสถาณการณ์กระบวนการสื่อสารการสื่อสารให้เป็นระบบแล้ว คงจะช่วยให้เข้าใจการสื่อสารได้ดียิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ กระบวนการสื่อสารประกอบด้วยแหล่งข้อมูล คือ แหล่งที่มาของงข้อมูลข่าวสาร หรือเป็นต้นตอของแหล่งข้อมูลข่าวสารนั่นเองข่าวสาร คือ เนื้อหาสาระที่ต้องส่งไปผู้ส่ง คือ บุคคลที่จะเป็นผู้ดำเนินการส่งข่าวสารผู้รับ คือ ผู้เป็นเป้าหมายในการรับข่าวสาร ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายสุดท้ายของการสื่อสารประเภทของสื่อที่ใช้ในการสื่อสารในองค์กรสื่อหรือช่องทาง ใช้เพื่อให้ข่าวสารนั้นไหลหรือถูกพาไปยังผู้รับสาร พอจะแบ่งออกได้ 3 ประเภท ดังนี้ประเภทการใช้ภาษา ได้แก่ การพูด คำพูด ซึ่งการใช้ภาษานับว่าเป็นการสื่อสารที่ใช้กันมากประเภทไม่ใช้ภาษา ได้แก่ สัญาลักษณ์ การเขียนข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายต่างๆ เป็นต้นประเภทอาศัยการแสดง/พฤติกรรมรูปแบบของการสื่อสาร การสื่อสารโดยทั่วๆ ไปแล้ว สามารถแยกรูปแบบออกได้ดังนี้การสื่อสารภายในตัวบุคคลการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลการสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่ แบบนี้ไม่มีให้เห็นมากนัก แต่ก็มีบางงานใช้การสื่อสารภายในองค์กรการสื่อสารมวลชนลักษณะการสื่อสารในองค์กร ลักษณะการสื่อสารในองค์กร โดยทั่วๆไปจะมีรูปแบบอยู่ 3 ลักษณะ คือการสื่อสารระหว่างบุคคล หมายถึง การสื่อสารกันระหว่างพนักงานต่อพนักงาน หรือระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เป็นต้นการสื่อสารระหว่างหน่วยงานภายในองค์กร หมายถึง การสื่อสารกันระหว่างหน่วยงาน ภายในองค์กรการสื่อสารระหว่างองค์กร หมายถึง การติดต่อที่เกิดขึ้นระหว่างองค์กรต่อองค์กรจุดมุ่งหมายของการสื่อสารในองค์กรการสื่อสารในองคืกรที่เกิดขึ้นเพื่อการประสานงาน และสร้างความเข้าใจต่อกัน ทั้งนี้ก็เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายฉะนั้น พอจะสรุปจุดมุ่งหมายได้ดังนี้เพื่อการควบคุมการปฏิบัติงานได้ดีขึ้นเพื่อการให้ข้อมูลที่เป็นพื้นฐานในการตัดสินใจเพื่อการจูงใจและกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจกันทำงานในองค์กรเพื่อการแสดงออกซึ่งความรู้สึกต่างๆ เพื่อให้หัวหน้าหรือพนักงานด้วยกันมีความเข้าใจกันเทคนิคการสื่อสารในองค์กร เทคนิคในการสื่อสาร จะมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือเทคนิคการสื่อสารจากระดับบนสู่ล่าง ได้แก่ การสื่อสารจากผู้บังคับบัญชาลงสู่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเทคนิคการสื่อสารจากระดับล่างสู่บน ได้แก่ การศึกษาจากผู้ใต้บังคับบัญชา ติดต่อขึ้นตามคำสั่ง ตามลำดับขั้น จนถึงผู้บังคับบัญชาเทคนิคการสื่อสารระดับเดียวกัน เช่น ระหว่างเพื่อนร่วมงาน บุคคลในระดับเดียวกันรูปแบบของเครือข่ายการติดต่อสื่อสาร ในการจัดเครือข่ายการสื่อสาร เพื่อให้มีการติดต่อสื่อสารกัน สามารถแบ่งออกได้ดังนี้แบบลูกโซ่ (Chain) เป็นเครือข่ายที่พบความผิดพลาดอยู่เสมอแบบวงล้อหรือดาว (Wheel or Star) เป็นเครือข่ายของการประสานงานแบบเผด็จการแบบวงกลม (Circle) เป็นการติดต่อข่าวสารกันแบบต่อเนื่องกัน ซึ่งให้ประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาได้ต่ำแบบว่าว (Kite) เป็นการติดต่อที่ผสมผสานกันทั้งแบบลูกโซ่และแบบวงล้อี่แบบทุกช่องทาง (All Channel) เป็นเครือข่ายการติดต่อสื่อสารที่มีการประสารกันได้ทุกจุด ทำให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดหลักสำคัญในการติดต่อสื่อสารที่ดี เพื่อให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ทำให้ผู้ส่งและผู้รับมีข่าวสารตรงกันและรวดเร็ว จึงสมควรยึดหลัก 7 C คือความเชื่อถือได้ความเหมาะสมมีเนื้อหาสาระความสม่ำเสมอและความต่อเนื่องช่องทางข่าวสารความสามารถของผู้รับสารความชัดเจนแจ่มแจ้งของข่าวสารฉะนั้น จากหลักการ 7 C นี้คงจะช่วยให้การจัดระบบติดต่อสื่อสาร เกิดผลของการสื่อสารที่ดีเกิดขึ้นในองค์กรได้ ซึ่งหากมีการติดต่อสื่อสารที่ดี ย่อมส่งผลให้เกิดการจัดการบริหารงานที่ดีไปด้วยมนุษย์สัมพันธ์กับการสื่อสารในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารให้เกิดความรวดเร็วและเที่ยงตรง ในยุคปัจจุบันในบริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ กำลังพัฒนาเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร มีความก้าวหน้ารวดเร็วทันสมัยทั้งนี้ก็เพื่อให้สิ่งนี้มาช่วยพัฒนางานหากระบบการสื่อสารในองค์กรมีประสิทธิภายังช่วยสร้างบรรยากาศการทำงานและมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีให้เกิดในหมู่คณะพนักงานและผู้บริหารด้วย ดังนั้น การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสามารถสรุปได้ ดังนี้รู้กระบวนการและขั้นตอนการสื่อสาร บุคคลในสถานทีประกอบการต้องรู้กระบวนการและขั้นตอนเพื่อการสื่อสาร ดังนี้- ความตั้งใจที่จะสื่อสาร- มีความเข้าใจในสาระการสื่อสาร- มีการยอมรับในข่าวสาร- ปฏิบัติตามข่าวสารใช้สื่อและภาษาธรรมดาต้องพยายามเข้าใจธรรมชาติของผู้ส่งและผู้รับการสื่อสารต้องพยายามเข้าใจกิริยาท่าทางการพัฒนาประสิทธิภาพการฟังที่ดีสื่อและเครื่องมือในการสื่อสารต้องดีและเอื้ออำนวยควรมีการวางแผนและเตรียมตัวที่ดีลักษณะของการสั่งการที่ดี การสั่งการที่ดีต้องเป็นคำสั่งที่สามารถปฏิบัติได้ ผู้รับคำสั่งจะต้องมีอำนาจ เวลา และอุปกรณ์ในการดำเนินงานเพียงพอที่จะปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ๆ ดังนั้น การสั่งการที่ดีควรมีลักษณะดังนี้เป็นเรื่องที่ผู้รับคำสั่งสนใจ เช่น งานที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่โดยตรงคำสั่งต้องเกี่ยวข้องกับหน่วยงานคำสั่งต้องเหมาะสม ชัดเจน เข้าใจง่าย และสามารถปฏิบัติได้คำสั่งต้องแน่นอน ควรเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อป้องกันความผิดพลาดความหมายของการควบคุมงานการควบคุม หมายถึง การตรวจสอบการปฏิบัติงาน ว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้และได้มาตราฐานที่กำหนดไว้หรือไม่ แล้วแนะนำการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามและมาตราฐานที่กำหนดไว้ความมุ่งหมายของการปฏิบัติงานเพื่อตรวจสอบดูว่างานที่ได้รับมอบหมายไปปฏิบัติดำเนินไปตามแผนงานและมาตราฐานที่กำหนดไว้หรือไม่เพื่อตรวจสอบวิธีปฏิบัติงานว่าดำเนินไปตามหลักการที่ดีหรือไม่เพียงใดเพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าของงานว่าดีเพียงใดเพื่อตรวจสอบการดำเนินงานว่ามีอุปสรรคหรือปัญหาประการใด เมื่อใด เพียงใดเพื่อแนะนำปรับปรุงแก้ไข เมื่อเกิดอุปสรรคและปัญหา

ตัวอย่างรายงานการประชุม

รายงานการประชุมคณะกรรมการร่วมกรมอาชีวศึกษาและองค์การค้าคุรุสภา
ครั้งที่ 1/2535
วันที่ 4 พฤษภาคม 2535 เวลา 9.30 – 12.00 น.
ณ ห้องประชุมกรมอาชีวศึกษา

ผู้มาประชุม 1. นายสุจินต์ ธรรมชาติ องค์การค้าของคุรุสภา
2. นายประเสริฐ นนท์พละ ผู้อำนวยการกองแผนงาน
3. นายพินิจ สว่างคำ องค์การค้าของคุรุสภา
4. นางจริยา ทัพพะกุล ณ อยุธยา กองแผนงาน
5. นายทวีลาภ บริสุทธิ์ธรรม วิทยาลัยพณิชยการบางนา(1.8)

ผู้ไม่มาประชุม 1. นางศรีนวล โกมลวนิช รองอธิบดีกรมอาชีวศึกษา
2. นางสาวอัชฌา มัลลิกะมาศ ผู้อำนวยการกองวิทยาลัยอาชีวศึกษา
3. นายพินิจ ชูธงชัย กองวิทยาลัยอาชีวศึกษา (1.8)

เริ่มประชุมเวลา 9.30 น. (1.8)

วาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
โครงการต้นแบบการฝึกงานนักเรียน/นักศึกษา ได้เริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2531 – 2534 และขณะนี้โครงการดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้ว และสืบเนื่องจากการประชุมสรุปผลโครงการต้นแบบฯ เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2535 ที่ประชุมได้เห็นชอบให้ดำเนินโครงการนี้ในลักษณะงานปกติ โดยให้กรมอาชีวศึกษาจัดตั้งคณะกรรมการอำนวยการและคณะกรรมการประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานของโครงการนี้ ดังนั้นกรมอาชีวศึกษาจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวตามคำสั่งกรมอาชีวศึกษาที่ 1010/2535 ลงวันที่ 7 เมษายน 2535 และได้เรียนเชิญท่านคณะกรรมการชุดใหม่ที่ตั้งขึ้นมาประชุมในวันนี้ (1.8)

วาระที่ 2 รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการวางแผนโครงการต้นแบบการฝึกงานนักเรียน/นักศึกษาเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2535
ที่ประชุมได้เสนอว่าตามคำสั่งกรมอาชีวศึกษา ที่ 1010/2535 ลงวันที่ 7 เมษายน 2535 นั้น มีรายชื่อของคณะกรรมการบางท่านซ้ำกัน ทั้ง 2 ชุด คือ คณะกรรมการอำนวยการและคณะกรรมการดำเนินการฝ่ายประสานงาน นอกจากนั้น ผู้ที่รับผิดชอบ เกี่ยวข้องกับการฝึกงานของนักเรียนนักศึกษาโดยตรงของแต่ละสถานศึกษา ไม่ได้มีรายชื่อเป็นคณะกรรมการในครั้งนี้ด้วย ดังนั้น ประธานจึงมอบให้เลขานุการเพิ่มเติมรายชื่อคณะกรรมการจากสถานศึกษา ซึ่งเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานและรับผิดชอบงานนี้โดยตรง และขอให้เพิ่มชื่อ นายฉลอง กุลละวณิชย์ จากองค์การค้าของคุรุสภา เป็นกรรมการและเลขานุการในคณะกรรมการดำเนินการฝ่ายประสานงานด้วย (1.8)

วาระที่ 3 เรื่องเพื่อพิจารณา
3.1 แนวทางการปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงการดำเนินโครงการต้นแบบ การฝึกงานของนักเรียนนักศึกษา
3.2 แนวทางการดำเนินการจัดทำ วิ.ดี.โอ เกี่ยวกับโครงการต้นแบบการฝึกงานนักเรียน นักศึกษา (1.8)

วาระที่ 4 เรื่องอื่น ๆ
ประธานเสนอว่าควรมีการประชุมคณะกรรมการครั้งต่อไปในเดือนมิถุนายน 2535(1.8)

ปิดประชุมเวลา 12.00 น.
Enter 3

(นางสาววณิชา ศิริกุล)
ผู้จดรายงานการประชุม